วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

LMS นวัตกรรมทางการศึกษา : ตอบโจทย์ปัญหาเด็กไทยในวันนี้ได้หรือไม่

          รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๔๐ และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๔๒ และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พุทธศักราช ๒๕๔๕ ต่างมีหลักการในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้เพื่อนำไปสู่ระบบเศรษฐกิจฐานความรู้ที่พึงประสงค์ การศึกษาเป็นรากฐานในการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า และเป็นกระบวนการช่วยให้คนพัฒนาตนเองให้มีความสามารถที่จะดำรงชีวิตและประกอบอาชีพได้อย่างรู้เท่าทันเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา แต่ระบบการศึกษาในปัจจุบันคุณภาพการศึกษากำลังเป็นจุดวิกฤต เนื่องจากคุณภาพการศึกษาของเด็กไทยต่ำลงทั้งด้านกระบวนการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์อย่างมีเหตุผล และการริเริ่มสร้างสรรค์จากการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศประจำปีโดยสถาบัน IMD (International Institute for Management Development) รายงานว่าปี พ.ศ. ๒๕๔๕ ไทยอยู่อันดับที่ ๔๙ จาก ๔๙ ประเทศที่เข้าแข่งขัน (สมบัติ การจนารักพงศ์. ๒๕๔๕ : ; อ้างอิงจาก สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. ๒๕๔๔)

          พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๔๒ หมวด ๔ แนวทางการจัดการศึกษา มาตรา ๒๒ ความว่า การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาจึงต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ จากพระราชบัญญัติจะเห็นว่า การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องรอรับความรู้จากผู้สอนแต่ฝ่ายเดียว บทบาทของผู้สอนจึงต้องเปลี่ยนไป โดยเฉพาะการจัดกิจกรรมและเทคนิควิธีสอนอย่างหลากหลาย เพื่อให้ผู้เรียนทุกคนสามารถทำได้ตามศักยภาพของเขา ผู้สอนจึงต้องมีความรู้ในการเตรียมสื่อการเรียนการสอน การออกแบบการสอนอาจจะเป็นบทเรียนสำหรับเรียนด้วยตนเอง จากการจัดการเรียนการสอนตามแนวพระราชบัญญัติการศึกษา เทคโนโลยีทางการศึกษาจะเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการศึกษา โดยมีการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจทางวิชาการของผู้สอนไปยังผู้เรียนด้วยวิธีการหลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
            พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๔๒ หมวด ๙ เทคโนโลยีการศึกษา มาตรา ๖๗ ความว่า รัฐต้องส่งเสริมให้การวิจัยและพัฒนาการผลิตและการศึกษาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา รวมทั้งติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้เกิดการใช้ที่คุ้มค่าและเหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้ของคนไทย ในวงการศึกษาปัจจุบันจึงได้มีการนำเทคโนโลยีเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เข้ามาประยุกต์ใช้มากขึ้น ทั้งนี้เพราะคอมพิวเตอร์เป็นสื่อที่มีศักยภาพสูง สามารถสนองตอบต่อความแตกต่างระหว่างบุคคลได้เป็นอย่างดี และผู้เรียนยังสามารถควบคุมเวลาในการเรียนด้วยตนเองได้
จากหลักการสำคัญของพระราชบัญญัติการศึกษา ที่กล่าวมา ทำให้เกิดแนวคิดการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาขึ้น (LMS : Learning Management System) ถือเป็นนวัตกรรมหนึ่งทางการศึกษา
            LMS เป็นระบบที่มีความสำคัญอย่างมากใน e-Learning (e-Learning คือ รูปแบบของการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือสื่ออิเลคทรอนิกส์ในการถ่ายทอดเรื่องราว และเนื้อหา โดยสามารถมีสื่อในการนำเสนอบทเรียนได้ตั้งแต่ 1 สื่อขึ้นไป และการเรียนการสอนนั้นสามารถที่จะอยู่ในรูปของการสอนทางเดียว หรือการสอนแบบปฏิสัมพันธ์ได้)
            LMS เป็นแอพพลิเคชันที่มาช่วยจัดการ และควบคุมกิจกรรมการเรียนการสอนทั้งหมดของ e-Learning อาศัยการติดตามผล วิเคราะห์ และรายงานถึงประสิทธิภาพของระบบฝึกอบรม รวมทั้งช่วยในการจัดการฐานข้อมูลความรู้ของหน่วยงาน เนื่องจากการเรียนแบบออนไลน์หรือ e-learning นั้นเป็นการเรียนที่สนับสนุนให้ผู้เรียนได้ศึกษา เรียนรู้ได้ด้วยตัวเองระบบบริหารการเรียนที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลาง กำหนดลำดับของเนื้อหาในบทเรียน นำส่งบทเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปยังผู้เรียน ประเมินผลความสำเร็จของบทเรียน ควบคุม และสนับสนุนการให้บริการทั้งหมดแก่ผู้เรียน จึงถือว่า (LMS :  e-Learning Management System) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของ e- learning

 
LMS ประกอบด้วย 5 ส่วน ดังนี้
1.      ระบบการจัดการหลักสูตร (Course Management) กลุ่มผู้ใช้งานแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ ผู้เรียน ผู้สอน และผู้บริหารระบบ โดยสามารถเข้าสู่ระบบจากที่ไหน เวลาใดก็ได้ โดยผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ระบบสามารถรองรับจำนวน userและจำนวนบทเรียนได้ไม่จำกัด โดยขึ้นอยู่กับ hardware/softwareที่ใช้ และระบบสามารถรองรับการใช้งานภาษาไทยอย่างเต็ม
2.      ระบบการสร้างบทเรียน (Content Management) ระบบประกอบด้วยเครื่องมือในการช่วยสร้าง Content ระบบสามารถใช้งานได้ดีทั้งกับบทเรียนในรูป Text – based และบทเรียนในรูปแบบ Streaming Media
3.      ระบบการทดสอบและประเมินผล (Test and Evaluation System) มีระบบคลังข้อสอบ โดยเป็นระบบการสุ่มข้อสอบสามารถจับเวลาการทำข้อสอบและการตรวจข้อสอบอัตโนมัติ พร้อมเฉลย รายงานสถิติ คะแนน และสถิติการเข้าเรียนของนักเรียน
4.      ระบบส่งเสริมการเรียน (Course Tools) ประกอบด้วยเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้สื่อสารระหว่างผู้เรียน – ผู้สอน และ ผู้เรียน – ผู้เรียน ได้แก่ Webboard และ Chatroom โดยสามารถเก็บ History ของข้อมูลเหล่านี้ได้
5.      ระบบจัดการข้อมูล (Data Management System) ประกอบด้วยระบบจัดการไฟล์และโฟลเดอร์ ผู้สอนมีเนื้อที่เก็บข้อมูลบทเรียนเป็นของตนเอง โดยได้เนื้อที่ตามที่ Admin
จากการนำระบบ LMS มาใช้ในระบบการศึกษาของเด็กไทย จึงสามารถตอบสนองแนวทางตามพระราชบัญญัติการศึกษา พุทธศักราช ๒๕๔๒ ในเรื่องการนำเทคโนโลยีเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เข้ามาพัฒนาการเรียนการสอน แก้ปัญหาในเรื่องของความแตกต่างระหว่างบุคคลได้เป็นอย่างดี และในปี ๒๕๕๘ การจัดตั้งประชาคมอาเซียน จะเกิดขึ้น การพัฒนาระบบ LMS อาจจะมีบทบาทสำคัญยิ่งขึ้น ก็เป็นได้

วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2555

TQF กับการเปลี่ยนแปลงสู่ประชาคมอาเซียน

หากคุณคิดถึง คำว่า “อาเซียน”  หรือ ASEAN คุณจะคิดถึงอะไรเป็นอันดับแรก ?
อ่ะ! คุณยังไม่ต้องตอบ หากคุณยังไม่รู้จัก “อาเซียน” ว่ามันคืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร
ก่อนอื่น เราจะพาคุณไปผจญภัยในดินแดน ที่เรียกว่า บ้านอาเซียน กันก่อนเลยค่ะ
คราวนี้ คุณคงตอบคำถามของเราได้แล้วใช่ไหม ซึ่งคำตอบของคุณจะแตกต่างกันไป
แต่ จะมีสักกี่คน เมื่อคิดถึง คำว่า “อาเซียน” แล้วจะคิดถึง “คน” เป็นอันดับแรก
“คนไทย” ถือเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดต่อประเทศไทย ดังนั้น “คนอาเซียน” จึงถือว่าเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดของอาเซียน เช่นกัน
        ประชาคมอาเซียน ทั้ง 10 ประเทศ รวมตัวกัน เพื่อสร้างความปลอดภัย สร้างสันติสุข  สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้เกิดขึ้นในภูมิภาคอาเซียน นักลงทุนชาวต่างชาติ จะเข้ามาลงทุนมากขึ้น ธุรกิจจะขยายตัว สร้างงานและโอกาสให้กับประชาชน เทคโนโลยีทางการเกษตร จะก้าวหน้ามากขึ้น คุณภาพชีวิตประชาชนจะดีขึ้น ระบบการคมนาคมที่ดีขึ้น เข้าถึงระบบการสื่อสารที่ทันสมัย ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
       การที่จะทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้น ต้องรู้จักรักษาสิ่งแวดล้อม ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน สนับสนุนให้สมาชิกในอาเซียนรู้จักกัน มีโอกาสทางการศึกษาอย่างเที่ยงธรรม ส่งเสริมการลงทุนในด้านการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ส่งเสริมนวัตกรรมและการประกอบการ ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี เรียนรู้ซึ่งกันและกัน สร้างความเข้มแข็งในครอบครัว
       การขับเคลื่อนประชาคมอาเซียน ให้บรรลุเป้าหมาย จึงต้องอาศัยกลไกการศึกษาเป็นตัวขับเคลื่อน แล้วการจัดการศึกษาของไทย เราพร้อมแค่ไหน กับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ?

 

แล้วการจัดการศึกษาของไทย ในระดับบัณฑิตศึกษา มีความเตรียมพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอย่างไร นี่เป็นอีกหนึ่งคำถาม ที่ทำให้รัฐบาลต้องกำหนดนโยบายการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552 – 2561) ขึ้น เพื่อมุ่งเน้นให้คนไทยได้เรียนรู้

เรามาดูนโยบายการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง กันเลยดีกว่า ว่ามีเป้าหมาย และกรอบแนวทาง อย่างไรบ้าง

เมื่อเรารู้นโยบายการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองแล้ว คราวนี้เรามาดูแนวทางการจัดการศึกษา เพื่อเตรียมการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนกัน
จากแนวทางการจัดการศึกษาทั้ง 7 ข้อ คุณจะสังเกตเห็นว่า ข้อที่ 7 การกำหนด มาตรฐานวิชาชีพ สาขาต่างๆ เพื่อนำไปสู่มาตรฐานอาเซียน เป็นแนวทางหนึ่งของการเตรียมการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน


เรามาดู คำว่า มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา กัน ว่ามันคืออะไร มีความสำคัญอย่างไร


มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา คือ ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะและคุณภาพที่พึงประสงค์ในการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องประพฤติปฏิบัติตามเพื่อให้เกิดคุณภาพในการประกอบวิชาชีพ ดังนั้น การจัดการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา จึงเกิดกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (Thai Qualifications Framework for Higher Education , TQF:HEd)หรือที่หลายคนมักชินกับคำว่า มคอ. หรือ TQF นั้นเอง

TQF เป็นกรอบที่แสดงระบบคุณวุฒิการศึกษาระดับอุดมศึกษาของประเทศ ซึ่งประกอบด้วย
Ø ระดับคุณวุฒิ
Ø ความเชื่อมโยงต่อเนื่องจากคุณวุฒิระดับหนึ่งไประดับที่สูงขึ้น
Ø มาตรฐานผลการเรียนรู้ของแต่ละระดับคุณวุฒิซึ่งเพิ่มสูงขึ้นตามระดับของคุณวุฒิ
Ø ปริมาณการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับเวลาที่ต้องใช้
Ø การเปิดโอกาสให้เทียบโอนผลการเรียนรู้จากประสบการณ์
Ø ระบบและกลไกที่ให้ความมั่นใจในประสิทธิผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติว่าสามารถผลิตบัณฑิตให้บรรลุคุณภาพตามมาตรฐานผลการเรียนรู้
หลักการสำคัญของ TQF คือ
-          มุ่งเน้นที่มาตรฐานผลการเรียนรู้ของบัณฑิต (Learning Outcome) ซึ่งเป็นมาตรฐานขั้นต่ำเชิงคุณภาพ
-          ประมวลกฎเกณฑ์และประกาศต่างๆที่ได้ดำเนินการไว้แล้วเข้าด้วยกัน เพื่อให้สามารถอธิบายผู้เกี่ยวข้องได้เข้าใจและชัดเจนเกี่ยวกับมาตรฐานในการจัดการศึกษาของคุณวุฒิในระดับต่างๆ
-          เพื่อให้คุณวุฒิหรือปริญญาของสถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทยเป็นที่ยอมรับและเทียบเคียงกันได้ในสถาบันอุดมศึกษาในต่างประเทศ
วัตถุประสงค์ของ TQF ประกอบด้วย
                   เพื่อกำหนดเป้าหมายในการผลิตบัณฑิตให้ชัดเจนโดยกำหนดมาตรฐานผลการเรียนรู้ของบัณฑิตที่คาดหวังในแต่ละคุณวุฒิของสาขาวิชาต่างๆ
                   เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตร การปรับเปลี่ยนกลวิธีการสอน ตลอดจนวิธีในการประเมินผลการเรียน
                   เพื่อเป็นกลไกในการประกับคุณภาพการศึกษาภายในของสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่ง และใช้เป็นกรอบอ้างอิงสำหรับผู้ประเมินของการประกันคุณภาพการศึกษาเกี่ยวกับคุณภาพบัณฑิตและจัดการเรียนการสอน
                   เป็นกรอบเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของคุณวุฒิ ความรู้ ความสามารถ ทักษะ รวมทั้งคุณลักษณะอื่นๆที่คาดว่าบัณฑิตจะพึงมี
                   เพื่อให้มีการกำกับดูแลคุณภาพการผลิตบัณฑิตกันเองของแต่ละสาขาวิชา
                   เพื่อเชื่อมโยงระดับต่างๆของคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาให้เป็นระบบ
โครงสร้างและองค์ประกอบ TQF
-          ระดับคุณวุฒิ (Level of Qualification)
-          มาตรฐานผลการเรียนรู้ (Domains of Learning)
-          มาตรฐานผลการเรียนรู้แต่ละด้านของแต่ละระดับคุณวุฒิ
-          ลักษณะของหลักสูตรในแต่ละระดับคุณวุฒิ
-          จำนวนหน่วยกิตในหลักสูตรและระยะเวลาในการศึกษา
-          การกำหนดชื่อคุณวุฒิ
-          การเทียบโอนความรู้หรือประสบการณ์
มาตรฐานผลการเรียนรู้ ต้องมีอย่างน้อย 5 ด้านดังนี้
-          ด้านคุณธรรม จริยธรรม
-          ด้านความรู้
-          ด้านทักษะทางปัญญา
-          ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
-          ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
(ซึ่งบางสาขาวิชาอาจกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้มากกว่า 5 ด้านก็ได้)
คุณได้เข้าใจความหมายของคำว่า “มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา” และTQFไปแล้ว
ต่อไป เราลองมาดูสิว่า ประชาคมอาเซียน ส่งผลกระทบต่อการจัดการศึกษาของไทย ในระดับบัณฑิตศึกษา อย่างไรบ้าง ?
ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา ได้ประกาศให้สถาบันอุดมศึกษาพัฒนาหรือปรับปรุงรายละเอียดของหลักสูตร ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยมาตรฐานคุณวุฒิตามระดับคุณวุฒิของแต่ละสาขา/สาขาวิชา ให้ใช้ประกาศนี้สำหรับการกำหนดเป้าหมายของการจัดการศึกษาเพื่อให้บัณฑิต มีคุณภาพตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF)
       หลักสูตรแนวใหม่ของสถาบันอุดมศึกษาจึงต้องมุ่งเน้นมาตรฐานผลการเรียนรู้ของบัณฑิตเป็นสำคัญ และต้องมีกลไกในการบริหารจัดการปัจจัยนำเข้าอื่นๆ ตลอดจนปรับปรุงบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมต่างๆ ทั้งนี้ เชื่อว่า TQF จะเป็นกลไกที่จะก่อให้เกิดกิจกรรมต่างๆ ในการปฏิรูปการเรียนการสอน เพื่อให้บัณฑิตมีคุณภาพและมาตรฐาน มีทักษะและสมรรถนะในการทำงานตามที่มุ่งหวัง ผลักดันให้ประเทศชาติมีขีดความสามารถในการแข่งขันทัดเทียมกับนานาชาติได้
สถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษา จึงต้องมีการพัฒนาหลักสูตร เปิดโปรแกรมนานาชาติ พัฒนาคณาจารย์ มีสถาบันสอนภาษา มีระบบพี่เลี้ยงดูแล มีฝ่ายกิจการนักศึกษาต่างชาติ มีการอำนวยความสะดวกในเรื่อง หอพัก อาหาร ความปลอดภัย เปิดสอนหลักสูตรที่เป็นจุดแข็งของประเทศ เช่น อาหารไทย การท่องเที่ยว แพทย์แผนไทย การดูแลผู้สูงอายุ ภาษาไทย
การจัดการศึกษาของไทยในระดับบัณฑิตศึกษา จึงต้องสอดรับต่อการเคลื่อนย้ายแลกเปลี่ยนนักศึกษา อาจารย์ และนักวิจัย ชาวต่างชาติ ได้โดยสะดวก เพราะเป็นการเปิดเสรีการค้าบริการด้านการศึกษาที่นำไปสู่การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ภาษา ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมระหว่างประเทศสมาชิก ซึ่งเรื่องดังกล่าวส่งผลกระทบโดยตรงต่อกระทรวงศึกษาธิการและสถาบันการศึกษาที่ถูกฝากความหวัง ให้เป็นแหล่งบ่มเพาะปัญญาสำหรับคนรุ่นใหม่ก่อนเข้าสู่โลกของการทำงาน
    สุดท้าย สำหรับตัวดิฉัน ซึ่งเป็นนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และเป็นคุณครูที่คอยสั่งสอนเด็กๆ ระดับประถมศึกษา คงหนีไม่พ้นที่จะได้รับผลกระทบจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เช่นกัน ผลกระทบต่อตัวดิฉันมีอะไรบ้าง
1.     ด้านภาษาอังกฤษ เนื่องจากเป็นคนไม่กล้าพูดภาษาอังกฤษ ไม่สามารถสื่อสารกับชาวต่างชาติได้เลย แต่เมื่อได้มาเป็นนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาแล้วต้องศึกษางานวิจัยจากต่างประเทศ เป็นคุณครูก็ต้องมีความพร้อมในการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา ทางโรงเรียนจึงมีโครงการให้คุณครูทุกคนต้องเรียนภาษาอังกฤษ ทำให้ดิฉันต้องหันกลับมามองภาษาอังกฤษให้เป็นเรื่องสนุก ท้าทาย และชื่นชอบมันให้ได้
2.    ในเรื่องของเทคโนโลยีที่ไม่หยุดนิ่ง มีการแข่งขัน และพัฒนาอย่างรวดเร็ว การเรียนในระดับบัณฑิตศึกษา ต้องใช้เวลาในการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองอยู่เสมอ เทคโนโลยีต่างๆ เครือข่ายอินเตอร์เน็ต 3G สมาร์ทโฟน จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้การค้นคว้าหาข้อมูลต่างๆ รวดเร็วและง่ายยิ่งขึ้น รวมทั้งการสื่อสารสามารถทำได้ง่ายขึ้น จากการที่ไม่เคยคิดว่าโน้ตบุ๊ค สมาร์ทโฟน จะเป็นสิ่งสำคัญ ก็ต้องหันมาคิดใหม่ พร้อมกับรวบรวมเงินเพื่อให้ตามทันเทคโนโลยีเหล่านั้น แม้จะต้องผ่อนจ่าย เสียดอกเบี้ย ก็ต้องยอม
3.    ด้านงบประมาณ การเรียนภาษาอังกฤษ การตามเทคโนโลยี ล้วนแล้วแต่ต้องใช้งบประมาณ เพื่อให้ได้มายังสิ่งที่ปรารถนา ดิฉันจึงต้องคิดหนักเวลาที่ต้องหยิบเงินออกจากกระเป๋า ต้องประหยัดค่าใช้จ่ายมากขึ้นกว่าครั้งอดีต
ผลกระทบทั้งหมดที่กล่าวมา หลายคนอาจมองว่าเป็นผลกระทบด้านลบ หลายคนอาจมองว่ามีผลกระทบทั้งด้านลบและด้านบวก แต่ตัวดิฉันเองนั้นมองแตกต่างจากมุมมองของอีกหลายๆ คน ดิฉันคิดว่า ประชาคมอาเซียนส่งผลกระทบด้านบวกต่อการจัดการศึกษา เพราะทำให้คนไทยเกิดความกระตือรือร้น ใช้สมองในการคิดแก้ไขปัญหา และเตรียมพร้อมที่จะเรียนรู้ ก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ได้อย่างมั่นคง และใช้ชีวิตอยู่ในสังคมอาเซียนอย่างมีความสุข ให้สมกับคำขวัญของอาเซียน ที่ว่า “One Vision, One Identity, One Community” “หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม” สู่ อีกหนึ่งความสุขเล็กๆ ของคนที่ชื่อว่า “ครูนุ้ย”

วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เมื่อพบว่าโลกของอุปกรณ์ "Mobile" เริ่มจะไม่ปลอดภัย

เป็นที่ทราบกันในปัจจุบัน ถึงจำนวนตัวเลขของผู้ใช้สมาร์ทโฟนที่เติบโตเพิ่มสูงขึ้น แน่นอนว่ากลุ่มผู้ไม่หวังดีทั้งหลายก็่ต่างพุ่งเป้ามายังกลุ่มผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนเพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัว อันตรายอันเกิดจากการใช้สมาร์ทโฟนที่เป็นเสมือนกับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนตัวเครื่องหนึ่ง จึงเป็นเรื่องที่พึงระวังอย่างยิ่ง หากผู้ใช้ขาดความระแวดระวังในการใช้งาน ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะยังไม่เคยเจอภัยจากสมาร์ทโฟนกับตัวเอง

สมาร์ทโฟน

เจสัน มอก ผู้จัดการฝ่ายขายผลิตภัณฑ์คอนซูมเมอร์ ไซแมนเทค เผยตัวเลขที่น่าสนใจเกี่ยวกับภัยอันตรายอันเกิดจากการก่ออาชญากรรมบนโลกไซเบอร์ในยุคปัจจุบัน ซึ่งต้องยอมรับว่าสิ่งสำคัญของผู้ใช้งานบนโลกไซเบอร์ปัจจุบัน คือเรื่องของ "ข้อมูลส่วนตัว" ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น เลขบัตรเครดิต หรือเลขที่บัตรประชาชน เป็นต้น แต่ในขณะเดียวกัน ผู้ก่ออาชญากรรมบนโลกไซเบอร์เอง ก็ฉลาดมากขึ้น และไม่ต้องการแค่ข้อมูลเหล่านี้ หากแต่เป้าหมายที่แท้จริงคือ "เงิน"


ปัจจุบัน มีผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของการก่ออาชญากรรมบนโลกไซเบอร์ทั่วโลกมากถึงกว่า 1 ล้านรายต่อวัน หรือคิดเป็นวินาทีละ 14 ราย มูลค่าความเสียหายมากกว่า 388,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ หรือมากกว่า 12.4 ล้านล้านบาททีเดียว !!
 การก่ออาชญากรรมบนโลกไซเบอร์ที่สามารถป้องกันได้เหล่านี้ สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือไวรัส/มัลแวร์ 54 เปอร์เซ็นต์ สแคมหรือพวกอีเมล์หลอก 21 เปอร์เซ็นต์ และเป็นภัยคุมคามบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ 10 เปอร์เซ็นต์  ซึ่งผู้ชายตกเป็นเหยื่อของการถูกหลอกบนโลกออนไลน์มากกว่าผู้หญิง เนื่องจากเป็นกลุ่มผู้ที่ใช้งานออนไลน์มากกว่าผู้หญิง และทางไซแมนเทคเอง ก็มีตัวเลขของผู้ใช้ที่ใช้ออนไลน์ในประเทศไทยที่พบว่า มีถึง 80 เปอร์เซ็นต์ ที่เคยตกเป็นเหยื่อของการถูกหลอกบนโลกออนไลน์ ในขณะที่ทั่วโลกมีอยู่ราว 72 เปอร์เซ็นต์

ยิ่งในยุคปัจจุบัน ผู้คนมีการใช้บริการโลกออนไลน์มากขึ้น ซึ่ง 1 ใน 3 ของผู้ใช้คิดว่าหากไม่ได้ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ก็เหมือนกับการขาดการติดต่อสื่อสารกับเพื่อนๆ

ที่สำคัญคือ 44 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ใช้สมาร์ทโฟน ใช้เพื่อเข้าถึงอินเตอร์เน็ต และมีถึง 10 เปอร์เซ็นต์ของคนกลุ่มนี้เป็นผู้ใหญ่ที่เคยพบประสบการณ์การก่ออาชญากรรมบนโลกออนไลน์มาแล้ว

ผู้ที่ใช้สมาร์ทโฟนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ของกูเกิล ที่มี "กูเกิลเพลย์" สำหรับโหลดแอพพลิเคชั่นที่เปิดกว้างมาก ทำให้กลุ่มผู้ไม่หวังดีเข้ามาใช้ช่องทางดังกล่าวในการคิดโปรแกรมมาฝังตัวในเครื่องสมาร์ทโฟน และหลอกล่อเพื่อให้ได้เงินจากผู้ใช้ไป จนกลายเป็นแหล่งที่สร้างเงินได้อย่างมาก

ดังนั้น สิ่งสำคัญที่ทุกคนที่มีสมาร์ทโฟนต้องพึงระวังคือ "ต้องรู้จักป้องกันตัวเอง"

การป้องกันตัวเองอย่างง่ายๆ ที่รู้ๆกันอยู่แต่ไม่ค่อยทำกัน คือ
  1. การติดต่อซอฟต์แวร์ต่อต้านไวรัสแบบสมบูรณ์เอาไว้
  2. การเฝ้าระวังอย่างสม่ำเสมอ และ
  3. หากมีข้อความ SMS หรืออีเมล์แปลกๆเข้ามา อย่าไปตอบรับหรือเปิดดู เพราะอาจถูกเจาะเข้าไปในระบบข้อมูลของสมาร์ทโฟน และต้องเสียเงินไปแบบไม่ค่อยรู้เนื้อรู้ตัว
คนคนหนึ่งอาจจะมีอุปกรณ์ไอทีใช้งานหลายชิ้น ตั้งแต่ เครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ โน้ตบุ๊ก แท็บเล็ต และสมาร์ทโฟน ทางไซแมนเทค จึงได้ออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ครอบคลุมการใช้งานของคนกลุ่มนี้ ด้วยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มคอนซูมเมอร์ นอร์ตัน เอฟ เวอรี่แวร์ ที่จะสามารถใช้งานได้กับอุปกรณ์ได้มากถึง 5 ชิ้นด้วยกัน ซึ่งจะตอบโจทย์ของไลฟ์สไตล์ของผู้คนในยุคปัจจุบันได้เป็นอย่างดี

สมาร์ทโฟนเป็นอุปกรณ์ที่ต้องพกพาไปไหนมาไหนอยู่ตลอดเวลา มีข้อมูลสำคัญที่เราไม่อยากให้ใครมาล้วงเอาไป หากสมาร์ทโฟนเราหาย ทางนอร์ตันจึงสร้างซอฟต์แวร์ที่ช่วยป้องกันอันตรายจากการสูญหายของเครื่องได้ ทั้งการตามรอย การถ่ายภาพจากกล้องหน้าจากทางไกล เพื่อเก็บภาพของผู้ที่หยิบโทรศัพท์เราไป หรือจะเป็นการลบข้อมูลทั้งหมดหากเกิดการเปิดเครื่องหลังถูกขโมย ทำให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลสำคัญของคุณจะไม่ถูกผู้ไม่หวังดีเอาไปได้อย่างแน่นอน

ถึงเวลาแล้วที่ทุกคนจะต้องหันมาตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้สมาร์ทโฟน เพราะสมาร์ทโฟนเปรียบเสมือนกับเครื่องคอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง ที่ติดตัวเราไปไหนมาไหน พร้อมกับข้อมูลความเป็นส่วนตัวของเราอีกมากมายที่ไม่อยากให้ใครมาล้วงเอาไปได้


(อ้างอิงจาก : หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับวันศุกร์ ที่ 20 กรกฎาคม 2555 หน้า 9)


แล้ว "สมาร์ทโฟน" มีผลต่อกระบวนทัศน์ทางการศึกษา อย่างไร

สมาร์ทโฟน เปรียบเสมือนกับเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องหนึ่งที่สามารถพกพาไปไหนมาไหนได้อย่างสะดวก และสามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ง่ายและรวดเร็ว การหาข้อมูล และความรู้ต่างๆ ไม่ใช่มีเฉพาะในห้องเรียนสี่เหลี่ยมเท่านั้น "สังคมออนไลน์" ถือเป็นแหล่งข้อมูลที่ให้เราได้ค้นคว้าหาความรู้ ได้อย่างกว้างขวาง และสมาร์ทโฟนนี้ จึงเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่มีความสำคัญ ในวงการศึกษา ในด้านการบริหาร การบริการ และการใช้เพื่อการเรียนการสอน
แนวโน้มในการนำสมาร์ทโฟนมาใช้ในการศึกษาในปัจจุบันและอนาคต จะเป็นรูปแบบของการเรียนการสอน โดยนำเอาเทคโนโลยีสมาร์ทโฟน มาผสมผสานกับเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต ที่มีลักษณะเฉพาะ คือ พกพาไปได้ทุกที่ ใช้งานได้อย่างปลอดภัย และเรียนรู้ได้ในทุกเวลา ทุกโอกาส

วันเสาร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2555

จุดเริ่มต้นของหนู...

                นานมาแล้ว ที่หมู่บ้านแห่งหนึ่ง ไม่ไกลจากเมืองหลวงมากนัก มีครอบครัวหนึ่ง มีพ่อแม่ และลูกเล็กๆอีก 4 คน หน้าตาหน้าเอ็นดูมาก คนโตเป็นเด็กผู้หญิง ที่ใจร้อน โมโหง่าย คนที่สองเป็นเด็กผู้หญิง ที่ขี้ขาดขี้กลัว คนที่สามเป็นเด็กผู้ชาย ร่างกายอ่อนแอ คุยเก่ง และคนสุดท้ายเป็นเด็กผู้หญิง ที่เรียบร้อย ไม่ค่อยคุย มีจิตใจดี มีเมตตาต่อเพื่อนๆและสัตว์ทั้งหลาย ดังนั้นเธอจึงเป็นที่รักยิ่งของทุกๆคน ที่ใครๆต่างเรียกกันติดปากว่า "หนูน้อย"

อยู่มาวันหนึ่ง หนูน้อยต้องออกเดินทางไปยังดินแดนที่อยู่ห่างไกลจากครอบครัว โดยที่ต้องเดินทางไปเพียงลำพัง เพื่อไปศึกษาเล่าเรียนวิชา หนูน้อยไม่รู้ว่าหนทางข้างหน้าที่เดินไปนั้นจะพบกับอะไรบ้าง "จะต้องพบกับอุปสรรคอะไรบ้างหนา" เธอรำพึงรำพันขึ้นในใจ เธอช่างกลัวและว้าเว่มาก แต่เธอก็ตัดสินใจเดินหน้าต่อไป เพื่อหาความรู้และประสบการณ์ ก่อนออกเดินทาง พ่อของหนูน้อยบอกให้เดินทางไปพักกับอาที่เมืองหลวงก่อน เธอจึงเริ่มเดินทางเข้ามายังเมืองหลวง ซึ่งเธอไม่รู้จักเส้นทางในเมืองหลวงเลย จึงใช้ระยะเวลานานมากกว่าจะเจอเมืองหลวง และบ้านของอา หนูน้อยใช้ระยะเวลา 1 ปี ในเมืองหลวงเพื่อศึกษาหาความรู้ เธอคิดว่าความรู้ที่เธอได้รับนี้ไม่ใช่สิ่งที่เธอชอบ และปรารถนาเลย เธอตัดสินใจออกเดินทางเพื่อไปศึกษาต่อยังเมืองอื่น

และเมืองปทุมธานี นี่เอง เป็นเมืองที่เธอปรารถนา เธอตั้งใจศึกษาหาความรู้ทั้งศาสตร์ และศิลป์ จนจบเนื้อหาวิชาภายในระยะเวลา 4 ปี แต่ช่วงเวลาที่ศึกษานี้หนูน้อยต้องทำงานพิเศษ เพื่อนำเงินมาซื้ออาหารและเสื้อผ้า ทำให้เธอใช้ชีวิตที่ลำบากกว่าเด็กคนอื่นๆ ความที่เธอเป็นเด็กจิตใจดี ขยัน และอดทน ทำให้เธอจบวิชาด้วยคะแนนเฉลี่ย 3.43 อยู่ในเกณฑ์ที่ดี น่าพอใจ
    เมื่อหนูน้อยได้ร่ำเรียนวิชาจบ เธอจึงออกหาประสบการณ์ด้วยการทำงาน และการทำงาน นี่เอง เป็นจุดเริ่มต้นของหนู...