หากคุณคิดถึง
คำว่า “อาเซียน” หรือ ASEAN
คุณจะคิดถึงอะไรเป็นอันดับแรก ?
ก่อนอื่น
เราจะพาคุณไปผจญภัยในดินแดน ที่เรียกว่า บ้านอาเซียน กันก่อนเลยค่ะ
คราวนี้ คุณคงตอบคำถามของเราได้แล้วใช่ไหม
ซึ่งคำตอบของคุณจะแตกต่างกันไป
แต่ จะมีสักกี่คน เมื่อคิดถึง คำว่า
“อาเซียน” แล้วจะคิดถึง “คน” เป็นอันดับแรก
“คนไทย”
ถือเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดต่อประเทศไทย ดังนั้น “คนอาเซียน”
จึงถือว่าเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดของอาเซียน เช่นกัน
ประชาคมอาเซียน ทั้ง 10 ประเทศ
รวมตัวกัน เพื่อสร้างความปลอดภัย สร้างสันติสุข
สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้เกิดขึ้นในภูมิภาคอาเซียน นักลงทุนชาวต่างชาติ
จะเข้ามาลงทุนมากขึ้น ธุรกิจจะขยายตัว สร้างงานและโอกาสให้กับประชาชน
เทคโนโลยีทางการเกษตร จะก้าวหน้ามากขึ้น คุณภาพชีวิตประชาชนจะดีขึ้น
ระบบการคมนาคมที่ดีขึ้น เข้าถึงระบบการสื่อสารที่ทันสมัย
ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
การที่จะทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้น
ต้องรู้จักรักษาสิ่งแวดล้อม ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
สนับสนุนให้สมาชิกในอาเซียนรู้จักกัน มีโอกาสทางการศึกษาอย่างเที่ยงธรรม ส่งเสริมการลงทุนในด้านการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ส่งเสริมนวัตกรรมและการประกอบการ ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี เรียนรู้ซึ่งกันและกัน สร้างความเข้มแข็งในครอบครัว
การขับเคลื่อนประชาคมอาเซียน
ให้บรรลุเป้าหมาย จึงต้องอาศัยกลไกการศึกษาเป็นตัวขับเคลื่อน แล้วการจัดการศึกษาของไทย
เราพร้อมแค่ไหน กับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ?
แล้วการจัดการศึกษาของไทย ในระดับบัณฑิตศึกษา มีความเตรียมพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอย่างไร นี่เป็นอีกหนึ่งคำถาม ที่ทำให้รัฐบาลต้องกำหนดนโยบายการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552 – 2561) ขึ้น เพื่อมุ่งเน้นให้คนไทยได้เรียนรู้
เรามาดูนโยบายการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง
กันเลยดีกว่า ว่ามีเป้าหมาย และกรอบแนวทาง อย่างไรบ้าง
เมื่อเรารู้นโยบายการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองแล้ว
คราวนี้เรามาดูแนวทางการจัดการศึกษา เพื่อเตรียมการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนกัน
จากแนวทางการจัดการศึกษาทั้ง 7 ข้อ
คุณจะสังเกตเห็นว่า ข้อที่ 7 การกำหนด มาตรฐานวิชาชีพ
สาขาต่างๆ เพื่อนำไปสู่มาตรฐานอาเซียน
เป็นแนวทางหนึ่งของการเตรียมการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน
เรามาดู คำว่า มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา กัน ว่ามันคืออะไร มีความสำคัญอย่างไร
มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา
คือ ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะและคุณภาพที่พึงประสงค์ในการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องประพฤติปฏิบัติตามเพื่อให้เกิดคุณภาพในการประกอบวิชาชีพ
ดังนั้น การจัดการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา จึงเกิดกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
(Thai
Qualifications Framework for Higher Education , TQF:HEd)หรือที่หลายคนมักชินกับคำว่า
มคอ. หรือ TQF นั้นเอง
Ø ระดับคุณวุฒิ
Ø ความเชื่อมโยงต่อเนื่องจากคุณวุฒิระดับหนึ่งไประดับที่สูงขึ้น
Ø มาตรฐานผลการเรียนรู้ของแต่ละระดับคุณวุฒิซึ่งเพิ่มสูงขึ้นตามระดับของคุณวุฒิ
Ø ปริมาณการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับเวลาที่ต้องใช้
Ø การเปิดโอกาสให้เทียบโอนผลการเรียนรู้จากประสบการณ์
Ø ระบบและกลไกที่ให้ความมั่นใจในประสิทธิผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติว่าสามารถผลิตบัณฑิตให้บรรลุคุณภาพตามมาตรฐานผลการเรียนรู้
หลักการสำคัญของ TQF คือ
-
มุ่งเน้นที่มาตรฐานผลการเรียนรู้ของบัณฑิต (Learning Outcome) ซึ่งเป็นมาตรฐานขั้นต่ำเชิงคุณภาพ
-
ประมวลกฎเกณฑ์และประกาศต่างๆที่ได้ดำเนินการไว้แล้วเข้าด้วยกัน
เพื่อให้สามารถอธิบายผู้เกี่ยวข้องได้เข้าใจและชัดเจนเกี่ยวกับมาตรฐานในการจัดการศึกษาของคุณวุฒิในระดับต่างๆ
-
เพื่อให้คุณวุฒิหรือปริญญาของสถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทยเป็นที่ยอมรับและเทียบเคียงกันได้ในสถาบันอุดมศึกษาในต่างประเทศ
วัตถุประสงค์ของ TQF
ประกอบด้วย
•
เพื่อกำหนดเป้าหมายในการผลิตบัณฑิตให้ชัดเจนโดยกำหนดมาตรฐานผลการเรียนรู้ของบัณฑิตที่คาดหวังในแต่ละคุณวุฒิของสาขาวิชาต่างๆ
•
เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตร
การปรับเปลี่ยนกลวิธีการสอน ตลอดจนวิธีในการประเมินผลการเรียน
•
เพื่อเป็นกลไกในการประกับคุณภาพการศึกษาภายในของสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่ง
และใช้เป็นกรอบอ้างอิงสำหรับผู้ประเมินของการประกันคุณภาพการศึกษาเกี่ยวกับคุณภาพบัณฑิตและจัดการเรียนการสอน
•
เป็นกรอบเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของคุณวุฒิ
ความรู้ ความสามารถ ทักษะ รวมทั้งคุณลักษณะอื่นๆที่คาดว่าบัณฑิตจะพึงมี
•
เพื่อให้มีการกำกับดูแลคุณภาพการผลิตบัณฑิตกันเองของแต่ละสาขาวิชา
•
เพื่อเชื่อมโยงระดับต่างๆของคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาให้เป็นระบบ
โครงสร้างและองค์ประกอบ TQF
-
ระดับคุณวุฒิ (Level of Qualification)
-
มาตรฐานผลการเรียนรู้ (Domains of Learning)
-
มาตรฐานผลการเรียนรู้แต่ละด้านของแต่ละระดับคุณวุฒิ
-
ลักษณะของหลักสูตรในแต่ละระดับคุณวุฒิ
-
จำนวนหน่วยกิตในหลักสูตรและระยะเวลาในการศึกษา
-
การกำหนดชื่อคุณวุฒิ
-
การเทียบโอนความรู้หรือประสบการณ์
มาตรฐานผลการเรียนรู้ ต้องมีอย่างน้อย
5 ด้านดังนี้
-
ด้านคุณธรรม จริยธรรม
-
ด้านความรู้
-
ด้านทักษะทางปัญญา
-
ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
-
ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร
และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
(ซึ่งบางสาขาวิชาอาจกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้มากกว่า
5 ด้านก็ได้)
คุณได้เข้าใจความหมายของคำว่า
“มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา” และ “TQF” ไปแล้ว
ต่อไป เราลองมาดูสิว่า ประชาคมอาเซียน
ส่งผลกระทบต่อการจัดการศึกษาของไทย ในระดับบัณฑิตศึกษา อย่างไรบ้าง ?
ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ได้ประกาศให้สถาบันอุดมศึกษาพัฒนาหรือปรับปรุงรายละเอียดของหลักสูตร
ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยมาตรฐานคุณวุฒิตามระดับคุณวุฒิของแต่ละสาขา/สาขาวิชา
ให้ใช้ประกาศนี้สำหรับการกำหนดเป้าหมายของการจัดการศึกษาเพื่อให้บัณฑิต มีคุณภาพตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
(TQF)
หลักสูตรแนวใหม่ของสถาบันอุดมศึกษาจึงต้องมุ่งเน้นมาตรฐานผลการเรียนรู้ของบัณฑิตเป็นสำคัญ
และต้องมีกลไกในการบริหารจัดการปัจจัยนำเข้าอื่นๆ
ตลอดจนปรับปรุงบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมต่างๆ ทั้งนี้ เชื่อว่า TQF จะเป็นกลไกที่จะก่อให้เกิดกิจกรรมต่างๆ ในการปฏิรูปการเรียนการสอน
เพื่อให้บัณฑิตมีคุณภาพและมาตรฐาน มีทักษะและสมรรถนะในการทำงานตามที่มุ่งหวัง
ผลักดันให้ประเทศชาติมีขีดความสามารถในการแข่งขันทัดเทียมกับนานาชาติได้
สถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษา
จึงต้องมีการพัฒนาหลักสูตร เปิดโปรแกรมนานาชาติ พัฒนาคณาจารย์ มีสถาบันสอนภาษา
มีระบบพี่เลี้ยงดูแล มีฝ่ายกิจการนักศึกษาต่างชาติ มีการอำนวยความสะดวกในเรื่อง
หอพัก อาหาร ความปลอดภัย เปิดสอนหลักสูตรที่เป็นจุดแข็งของประเทศ เช่น อาหารไทย
การท่องเที่ยว แพทย์แผนไทย การดูแลผู้สูงอายุ ภาษาไทย
การจัดการศึกษาของไทยในระดับบัณฑิตศึกษา
จึงต้องสอดรับต่อการเคลื่อนย้ายแลกเปลี่ยนนักศึกษา อาจารย์ และนักวิจัย ชาวต่างชาติ
ได้โดยสะดวก
เพราะเป็นการเปิดเสรีการค้าบริการด้านการศึกษาที่นำไปสู่การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้
ภาษา ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมระหว่างประเทศสมาชิก
ซึ่งเรื่องดังกล่าวส่งผลกระทบโดยตรงต่อกระทรวงศึกษาธิการและสถาบันการศึกษาที่ถูกฝากความหวัง
ให้เป็นแหล่งบ่มเพาะปัญญาสำหรับคนรุ่นใหม่ก่อนเข้าสู่โลกของการทำงาน
สุดท้าย สำหรับตัวดิฉัน ซึ่งเป็นนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และเป็นคุณครูที่คอยสั่งสอนเด็กๆ
ระดับประถมศึกษา คงหนีไม่พ้นที่จะได้รับผลกระทบจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
เช่นกัน ผลกระทบต่อตัวดิฉันมีอะไรบ้าง
1.
ด้านภาษาอังกฤษ เนื่องจากเป็นคนไม่กล้าพูดภาษาอังกฤษ
ไม่สามารถสื่อสารกับชาวต่างชาติได้เลย แต่เมื่อได้มาเป็นนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาแล้วต้องศึกษางานวิจัยจากต่างประเทศ
เป็นคุณครูก็ต้องมีความพร้อมในการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา
ทางโรงเรียนจึงมีโครงการให้คุณครูทุกคนต้องเรียนภาษาอังกฤษ
ทำให้ดิฉันต้องหันกลับมามองภาษาอังกฤษให้เป็นเรื่องสนุก ท้าทาย
และชื่นชอบมันให้ได้
2.
ในเรื่องของเทคโนโลยีที่ไม่หยุดนิ่ง มีการแข่งขัน
และพัฒนาอย่างรวดเร็ว การเรียนในระดับบัณฑิตศึกษา
ต้องใช้เวลาในการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองอยู่เสมอ เทคโนโลยีต่างๆ
เครือข่ายอินเตอร์เน็ต 3G
สมาร์ทโฟน จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้การค้นคว้าหาข้อมูลต่างๆ
รวดเร็วและง่ายยิ่งขึ้น รวมทั้งการสื่อสารสามารถทำได้ง่ายขึ้น
จากการที่ไม่เคยคิดว่าโน้ตบุ๊ค สมาร์ทโฟน จะเป็นสิ่งสำคัญ ก็ต้องหันมาคิดใหม่
พร้อมกับรวบรวมเงินเพื่อให้ตามทันเทคโนโลยีเหล่านั้น แม้จะต้องผ่อนจ่าย เสียดอกเบี้ย
ก็ต้องยอม
3.
ด้านงบประมาณ การเรียนภาษาอังกฤษ การตามเทคโนโลยี
ล้วนแล้วแต่ต้องใช้งบประมาณ เพื่อให้ได้มายังสิ่งที่ปรารถนา
ดิฉันจึงต้องคิดหนักเวลาที่ต้องหยิบเงินออกจากกระเป๋า
ต้องประหยัดค่าใช้จ่ายมากขึ้นกว่าครั้งอดีต
ผลกระทบทั้งหมดที่กล่าวมา
หลายคนอาจมองว่าเป็นผลกระทบด้านลบ หลายคนอาจมองว่ามีผลกระทบทั้งด้านลบและด้านบวก
แต่ตัวดิฉันเองนั้นมองแตกต่างจากมุมมองของอีกหลายๆ คน ดิฉันคิดว่า
ประชาคมอาเซียนส่งผลกระทบด้านบวกต่อการจัดการศึกษา
เพราะทำให้คนไทยเกิดความกระตือรือร้น ใช้สมองในการคิดแก้ไขปัญหา
และเตรียมพร้อมที่จะเรียนรู้ ก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ได้อย่างมั่นคง
และใช้ชีวิตอยู่ในสังคมอาเซียนอย่างมีความสุข ให้สมกับคำขวัญของอาเซียน ที่ว่า “One Vision, One
Identity, One Community” “หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์
หนึ่งประชาคม” สู่ อีกหนึ่งความสุขเล็กๆ ของคนที่ชื่อว่า “ครูนุ้ย”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น